รายละเอียดสมุนไพร
ชื่อสมุนไพร  กระวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Amomum krervanh Pierre
ชื่อสามัญ  Best cardamom, Camphor, Clustered cardamom, Siam cardamom
ชื่อท้องถิ่น  ปล้าก้อ (ปัตตานี), กระวานขาว (ภาค กลาง ภาคตะวันออก), มะอี้ (ภาคเหนือ), ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระวานไทย กระวานดำ กระวานแดง กระวาน จันทร์ กระวานโพธิสัตว์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีกาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบแคบและยาว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
- ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกออกมาจากเหง้า ชูขึ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน เรียงสลับซ้อนกันตลอดช่อ ใน ซอกใบประดับมีดอกประมาณ 1-3 ดอก ปลายกลีบเลี้ยงมีหยัก 3 หยัก กลีบดอกมีสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรตัวผู้เป็นแบบไม่สมบูรณ์เพศ แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่สีขาว มีแถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง
- ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม ติดเป็นพวงราว 10-20 ผล ผลมีสีขาวนวล เปลือกผิวเกลี้ยง มองเห็นเป็นพู มี 3 พู ผลอ่อนมีขน ผิวเปลือกมีริ้วตามยาว เรียงตัวจากฐานไปสู่ยอด ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ทั้งหัวและท้ายผลมีจุก ผลจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มี เมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มีเมล็ดกลุ่มละประมาณ 12-18 เมล็ด
- เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาวและมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลไหม้ โดยทั้งผล และเมล็ดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คล้ายกับกลิ่นของการบูร มีรสเผ็ดและเย็น
สรรพคุณทางยา  1. ผลแก่และใบช่วยทำให้เจริญอาหาร
2. เปลือก ใบและเมล็ดช่วยแก้เสมหะ ขับเสมหะ
3. ผลแก่ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
4. ผลแก่และใบแก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง
5. ผลแก่ ใบและรากช่วยรักษาโรครำมะนาด
6. เปลือกช่วยแก้ไข้
7. เปลือกช่วยรักษาโรคผิวหนัง
การนำไปใช้ประโยชน์  - ลูกกระวานนำไปเป็นเครื่องเทศประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เมล็ดที่อยู่ภายในลูกกระวานนำมาแต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน ขนมปัง คุกกี้ และช่วยในการดับกลิ่นคาว ของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สามารถนำไปแปรรูปและผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ดม ส่วนบริเวณเหง้าอ่อน ของกระวานสามารถนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกได้
- ลูกกระวานสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอมโดดเด่น ส่วนประกอบน้ำมันหอมระเหยของกระวาน ได้แก่ การบูร (camphor) ไพนิน (pinene) ลิโมนีน (limonene) และ เมอร์ซีน (myrcene) ในการรักษาโรค
อ้างอิง  - กระต่ายคู่. (2560) ลูกกระวาน ใบกระวาน สมุนไพรสรรพคุณ เผ็ดร้อนเต็มไปด้วยประโยชน์. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://krataiku.com/กระวาน/ - เมดไทย. (2563) กระวาน. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://medthai.com/กระวาน/สมุนไพรอภัยภูเบศร. (2561) กระวานสมุนไพรเกดรเอทั่วโลกรู้จัก. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_
ไฟล์ >>ดาวน์โหลด<<
ย้อนกลับ